สัมภาระ

1. สิ่งที่ไม่ถือว่าเป็นสัมภาระหรือไม่อาจรวมอยู่ในสัมภาระ: สายการบินขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการเดินทางของท่าน หากพบสัมภาระหรือสิ่งของเหล่านี้ในสัมภาระของท่าน

  • วัตถุที่ไม่ได้บรรจุในกระเป๋าหรือภาชนะที่เหมาะสมสำหรับการ ขนส่งทางอากาศอย่างปลอดภัย
  • วัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่อเครื่องบิน บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินบนเครื่องบิน และ/หรือ ถือว่าเป็นวัตถุอันตราย ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับการขนส่งวัตถุอันตรายขององค์การ การบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization - ICAO) สมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association - IATA) หรือ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการบินของสายการบินฯ
  • วัตถุที่ห้ามมีการขนส่งทางอากาศตามกฎหมาย ข้อบังคับ หรือคำสั่งของรัฐใดก็ตามที่ท่านจะออกเดินทาง ที่จะเดินทางไปถึง และที่ท่านจะเดินทางผ่าน
  • วัตถุที่สายการบินพิจารณาโดยชอบด้วยเหตุผลแล้วว่าไม่ปลอดภัยกับการขนส่งทางอากาศ เนื่องจากน้ำหนัก ขนาด หรือลักษณะของสิ่งนั้น
  • วัตถุที่แตกง่ายหรือชำรุดเสียหายได้
  • สัตว์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
  • ชิ้นส่วนของสัตว์หรือมนุษย์
  • อาหารทะเลสด หรือแช่แข็ง สายการบินไม่อนุญาตให้ลงทะเบียนสัมภาระทุกกรณี ยกเว้นการปรุงสุกที่บรรจุอยู่ในหีบห่อที่เรียบร้อย มีความมิดชิด และเหมาะสม ไม่มีกลิ่นของอาหาร
  • อาวุธปืนและดินปืน
  • ก๊าซที่สามารถระเบิดหรือติดไฟได้และไม่ได้ เช่นละอองสี ก๊าซที่กลั่นจากน้ำมันปิโตเลี่ยม (butane) น้ำมันก๊าด ก๊าซทำความเย็น เช่น ถังดำน้ำที่มีก๊าซบรรจุอยู่, ไนโตรเจนเหลว (เช่น สี ทินเนอร์ ตัวทำละลาย) ของแข็งที่ติดไฟได้ (เช่น ไม้ขีดไฟ ไฟแช็ค) สารอินทรีย์ประเภทเปอร์ออกไซด์ (เช่น เรซิ่น) วัตถุมีพิษ สารอันอาจติดเชื้อได้ (เช่นไวรัส แบคทีเรีย) สารกัมมันตภาพรังสี (เช่นเรเดียม) สารกัดกร่อน (เช่น กรด ด่าง) ปรอท เครื่องวัดอุณหภูมิ สารที่มีลักษณะเป็นแม่เหล็ก สารออกไซด์ (เช่น สารฟอกขาว)
  • วัตถุที่ในดุลพินิจของสายการบินแล้วพิจารณาเห็นว่าเป็นอาวุธ เช่น ปืนพกโบราณ ดาบ มีด และวัตถุในลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งอาจถือเป็นสัมภาระที่ต้องลงทะเบียนได้ตามข้อบังคับการ บินของสายการบิน แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้นำขึ้นไปยังห้องโดยสาร ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

2. ทรัพย์สินมีค่าและแตกหักง่าย ท่านไม่สามารถลงทะเบียนทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสัมภาระที่ต้องลงทะเบียนได้ และท่านต้องรับความเสี่ยงภัยอันอาจเกิดกับทรัพย์สินดังกล่าวเองหากท่านส่งทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสัมภาระลงทะเบียนซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวรวมถึง เงิน อัญมณี หินมีค่า เครื่องเงิน คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เอกสารที่แลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ หลักทรัพย์หรือของมีค่าอื่นๆ เอกสารทางธุรกิจ หนังสือเดินทาง และเอกสารแสดงตนอื่นๆ โฉนด ต้นฉบับเอกสาร หรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ผู้โดยสารจะต้องลงนามยินยอมในเอกสารจำกัดขอบเขตความรับผิดชอบ ของสายการบิน เมื่อทำการเช็คอิน ณ จุดยืนยันเพื่อลงทะเบียนเพื่อแสดง ความยินยอมไม่ทำการเรียกร้องใดๆต่อสายการบิน

3. ความถูกต้องและเหมาะสมด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัยและความมั่นคง สายการบินอาจขอให้ท่านเข้ารับการตรวจค้น เอ็กซเรย์ หรือการสแกนด้วยวิธีอื่นเพื่อตรวจสอบตัวท่านและสัมภาระของท่าน และอาจให้มีการตรวจหรือค้นสัมภาระของท่านในขณะที่ท่านไม่ได้อยู่ ณ ที่นั้นได้ เพื่อตรวจสอบว่าท่านได้ครอบครองหรือสัมภาระของท่านบรรจุวัตถุต้องห้ามตามที่กำหนดไว้หากท่านไม่เต็มใจที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว สายการบินอาจไม่อนุญาตให้ท่านหรือสัมภาระของท่านร่วมไปในการเดินทางได้โดยสายการบินจะไม่ชำระเงินคืนหรือรับภาระผูกพัน อื่นใด ในกรณีที่การตรวจค้นหรือสแกนก่อให้เกิดความเสียหายกับสัมภาระของท่าน สายการบินจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายดังกล่าวเว้นแต่ว่าความ เสียหายนั้นจะเกิดจาก ความผิดหรือความประมาทเลินเล่อของสายการบิน

4. สัมภาระที่ต้องลงทะเบียน เมื่อท่านนำสัมภาระมาลงทะเบียนเพื่อยืนยันการเดินทาง สัมภาระนั้นจะอยู่ในความดูแลของสายการบินซึ่งสายการบินจะออกหมายเลขประจำสัมภาระสำหรับสัมภาระแต่ละชิ้นที่ลงทะเบียนแล้ว สัมภาระที่ต้องลงทะเบียนจะต้องมีชื่อของท่านหรือหลักฐาน แสดงตนอื่นๆ ติดไว้อย่างแน่นหนา สัมภาระที่ต้องลงทะเบียนจะถูกขน ส่งไปพร้อมกับเที่ยวบินที่ท่านเดินทาง เว้นแต่ว่าสายการบินได้เลือกที่จะขนส่งสัมภาระไปพร้อมกับเที่ยวบิน อื่นเพื่อ ความปลอดภัย ความมั่นคง หรือด้วยเหตุผลในการปฏิบัติงาน หากสัมภาระที่ต้องลงทะเบียนของท่านถูกขนส่งไปกับเที่ยวบินถัด ไปสายการบินจะ นำสัมภาระดังกล่าวส่งคืนให้แก่ท่านภายในเวลาที่ เหมาะสม เมื่อสัมภาระนั้นถึงที่หมายแล้ว เว้นแต่กฎหมายที่ใช้บังคับจะ กำหนดให้ท่านมาแสดงตนเพื่อขอรับสัมภาระต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร
สายการบินขอจำกัดน้ำหนักสัมภาระสุทธิต่อสัมภาระ 1 ชิ้น ไม่เกินชิ้นละ 32 กิโลกรัมและ ขนาดรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 81 ซ.ม. x 119 ซ.ม. x 119 ซ.ม

5. ค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนสัมภาระ
5.1 ค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนสัมภาระสำหรับการซื้อล่วงหน้ามากกว่า 3 ชั่วโมง ก่อนการเดินทาง



* ค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนสัมภาระสำหรับการซื้อล่วงหน้ามากกว่า 3 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง มีผลตั้งแต่ 1 เมษายน 2563 เป็นต้นไป
5.2 อัตราสัมภาระที่สนามบิน



หมายเหตุ

น้ำหนักรวมในข้อ 5.1 และ/หรือ 5.2 ไม่เกิน 45 กิโลกรัมต่อผู้โดยสาร 1 ท่าน
ในกรณีที่ผู้โดยสารซื้อน้ำหนักสัมภาระล่วงหน้ามาแล้ว สามารถซื้อน้ำหนักเพิ่มได้ 1 ครั้งต่อ 1 ท่าน ต่อ เที่ยวบิน
หากสัมภาระมีน้ำหนักเกิน 45 กิโลกรัม ทางสายการบินขอคิดค่าธรรมเนียมต่อกิโลกรัม ดังนี้

อัตราค่าสัมภาระลงทะเบียนส่วนเกินต่อกิโลกรัม
  • เส้นทางภายในประเทศกิโลกรัมละ 350 บาท
  • เส้นทางระหว่างประเทศกิโลกรัมละ 525 บาท
ทางสายการบิน ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงินค่าธรรมเนียมตามข้อ 5.1 และ/หรือ 5.2 ยกเว้นในกรณีที่ ผู้โดยสารไม่สามารถทำการบินในเที่ยวบินเดิมได้ อันเนื่องจากสายการบินมีการเปลี่ยนเวลา และ/หรือ ยกเลิกเที่ยวบิน

สายการบินไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขนส่งสัมภาระสำหรับรถเข็นเด็กทารก รถเข็นวิลแชร์ อุปกรณ์ช่วยเดิน/ไม้เท้าค้ำยัน ทั้งนี้ทารกจะไม่ได้รับสิทธิการขนส่งสัมภาระแม้ว่าสายการบินจะยกเว้นค่าธรรมเนียมการขนส่งรถเข็นเด็กทารกก็ตาม
วัตถุในดุลยพินิจของสายการบินเช่นปืนพกซึ่งสามารถลงทะเบียนสำหรับแต่ละคน จะไม่ได้รับอนุญาตในการพกพาไปที่ห้องโดยสาร อย่างไรก็ตามผู้โดยสารจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่สายการบินทราบก่อนทำการสำรองที่นั่งและเช็คอินที่เคาน์เตอร์ของสายการบินก่อน เวลากำหนดการเดินทาง หนึ่ง (1) ชั่วโมง พร้อมทั้งแสดงเอกสารการอนุญาต ในการพกพาอาวุธปืนให้กับเจ้าหน้าที่ของสายการบิน (อนุญาติเฉพาะเที่ยวบินภายในประเทศ)

6. สัมภาระที่ไม่ต้องลงทะเบียน ผู้โดยสารแต่ละท่านสามารถนำกระเป๋าเดินทาง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค หรือ กระเป๋าถือ ขึ้นเครื่องได้ท่านละ 1 ชิ้น โดยสัมภาระดังกล่าวต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 7 กิโลกรัม และมีขนาดไม่เกิน 40 ซม.x 30 ซมx 20 ซม. โดยสามารถวางใต้เบาะที่นั่งด้านหน้าหรือจัดเก็บในช่องเก็บสัมภาระ เหนือศีรษะภายในห้องผู้โดยสารได้ สิ่งของที่ทางสายการบินฯ พิจารณาแล้วว่ามีน้ำหนักหรือขนาดเกินหรืออาจเป็นอันตรายจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำขึ้นเครื่อง สายการบินฯ สงวนสิทธิ์ในการนำสิ่งของดังกล่าวโหลดลงใต้ท้องเครื่องร่วมกับสัมภาระเช็คอิน ทั้งนี้ หากสัมภาระมีน้ำหนักเกินกว่าที่สายการบินฯ ได้กำหนดไว้ผู้โดยสารจะต้องชำระค่าธรรมเนียมสัมภาระน้ำหนัก เกิน ณ ประตูทางออกขึ้นเครื่อง ผู้โดยสารนั้นสามารถนำวัตถุเหลวขึ้นเครื่องได้ โดยต้องปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด ดังนี้:

  • ของเหลวบรรจุในบรรจุภัณฑ์แต่ละชิ้นมีปริมาณไม่เกิน 100 มล.
  • ของเหลวทั้งหมดรวมกันไม่เกิน 1 ลิตร ขวดและบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดต้องใส่รวมกันในถุงใสซิปล็อค คือถุงที่เปิดแล้วปิดผนึกได้อีก อนุญาตให้นำขึ้นคนละ 1 ถุง
  • ผู้โดยสารต้องแสดง ถุงใส่ของเหลวดังกล่าว ณ จุดตรวจซึ่งเจ้าหน้าที่มีสิทธิทิ้ง บรรจุภัณฑ์ใดๆที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดข้างต้น
ผลไม้: ผู้โดยสารสามารถนำผลไม้ใส่กระเป๋าขึ้นเครื่องได้ หากจัดเก็บและผนึกไว้อย่างถูกต้องเหมาะสม แต่มิได้รับอนุญาตให้รับประทานบนเครื่องโปรดทราบว่า ทุเรียน ขนุนและผลไม้ที่มีกลิ่นฉุนต่างๆจัดเป็นสิ่งของต้องห้ามบน เครื่องระดับสากล และจะมิได้รับอนุญาตให้นำใส่กระเป๋าขึ้น เครื่องและสัมภาระที่ลงทะเบียน
เข็มฉีดยา กระบอกฉีดยาและเข็มฉีดยาที่เป็นลักษณะปากกาที่มีเข็มถือว่าเข้าข่ายเป็นสิ่งต้องห้ามในการนำขึ้นเครื่องบินยกเว้นในกรณีที่ผู้โดยสารมีความจำเป็นต้องใช้เนื่องจากเหตุผลทางการแพทย์ซึ่งต้องมีหลักฐานใบรับรองแพทย์ระบุถึงความจำเป็นต้องพกติดตัวในการเดินทางโดยสารบนเครื่องบินมิฉะนั้นอุปกรณ์ดังกล่าวจะต้องย้ายไปเก็บไว้ในส่วนของสัมภาระที่เช็คอิน

7. กระเป๋าสัมภาระพกพาขึ้นเครื่องใดๆ ที่มีน้ำหนักหรือขนาดเกินกำหนดหรืออาจเป็นอันตรายจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำขึ้นห้องโดยสาร ทั้งนี้ผู้โดยสารจะต้องปฎิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขข้อที่ 6 โดยเคร่งครัด หากผู้โดยสารไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขดังกล่าว สายการบินฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการโหลดสัมภาระดังกล่าวเป็นสัมภาระเช็คอินและโหลดลงใต้ท้องเครื่อง โดยผู้โดยสารจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในอัตราการโหลดสัมภาระน้ำหนักหรือขนาดเกินกำหนด ณ ประตูทางออกขึ้นเครื่องตามอัตราดังต่อไปนี้



หมายเหตุ: ราคาต่อคน / ต่อเที่ยว / ต่อชิ้น


8. การจัดส่งและจัดเก็บสัมภาระ ผู้โดยสารต้องดำเนินการรับสัมภาระด้วย ตนเอง ณ จุดรับสัมภาระประจำท่าอากาศยานปลายทาง ทั้งนี้ สายการบินฯ อาจนำสัมภาระไปเก็บรักษาไว้และอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการดูแลหากผู้โดยสารไม่รับสัมภาระคืนภายในเวลาที่ กำหนด และหากท่านไม่ขอรับสัมภาระคืนภายใน 1 เดือน สายการบินฯ ขอสงวนสิทธิ์ยกเลิกการจัดเก็บสัมภาระได้โดยไม่รับผิดชอบความเสียหาย ใดๆ ทั้งสิ้น เฉพาะผู้ที่มีชื่อบนป้ายสัมภาระเมื่อมีการลง ทะเบียนสัมภาระเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์ในการรับส่งมอบสัมภาระ คืน หากบุคคลที่มาขอรับสัมภาระไม่มีป้ายสัมภาระสายการบินจะอนุญาต ให้บุคคลดังกล่าวรับสัมภาระไปได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้ แสดงสิทธิของตนที่มีในสัมภาระจนเป็นที่พอใจของสายการบิน แล้วเท่านั้น และสายการบินสงวนสิทธิ์ให้บุคคลดังกล่าวลงนามตกลง ยอมรับว่าจะชดเชยค่าความสูญเสีย ความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายที่อาจ เกิดขึ้นกับสายการบินอันเป็นผลมาจากการส่งมอบสัมภาระดังกล่าว การรับสัมภาระของผู้ถือป้ายสัมภาระโดยไม่มีการร้องเรียน ณ เวลาที่มีการส่งมอบสัมภาระนั้นถือเป็นหลักฐานชั้นต้นว่าสัมภาระ ดังกล่าวได้ ถูกส่งมอบให้ในสภาพดีและเป็นไปตามสัญญาสำหรับการบิน ระหว่างสายการบิน

9. อาวุธปืนและเครื่องกระสุน ซึ่งถือเป็นสัมภาระที่ต้องลงทะเบียนตามข้อบังคับการบินของสายการบิน ซึ่งสามารถลงทะเบียนได้ท่านละ1กระบอก เครื่องกระสุนไม่เกิน 5 กิโลกรัม พร้อมในบรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรง ค่าขนส่งอาวุธปืน 500 บาท ต่อ 1 กระบอก โดยจำกัดอาวุธปืน 10 กระบอก ต่อ1เที่ยวบิน สายการบินไม่อนุญาตให้นำขึ้นไปยังห้องโดยสารไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น ผู้โดยสารต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่สายการบิน ณ เคาน์เตอร์ลงทะเบียนของสายการบิน พร้อมแสดงเอกสารอนุญาตพกพาอาวุธปืนฉบับจริงและสำเนาแก่เจ้าหน้าที่ของสนามบินและสายการบิน (เที่ยวบินภายในประเทศ) ทั้งนี้สายการบินขอสงวนสิทธิ์ให้กับผู้โดยสารที่มาทำการลงทะเบียนที่เคาน์เตอร์ออกบัตรโดยสารตามลำดับ สายการบินไม่รับขนส่งอาวุธปืนและเครืองกระสุนในเที่ยวบินระหว่างประเทศ

หมายเหตุ: การเรียกเก็บค่าขนส่งอาวุธปืน มีผลตั้งแต่ 15 มกราคม 2562

ในกรณีที่ผู้โดยสารมีอาวุธปืนและไม่ประสงค์ที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมการขนส่งอาวุธปืน ผู้โดยสารสามารถขอคืนเงินค่าตั๋วโดยสารได้เต็มจำนวน
กรณีที่ผู้โดยสารนำอาวุธปืนมาเป็นกระบอกที่ 11 ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินได้โดยละเว้นค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน แต่ต้องเสียค่าส่วนต่างของตั๋วตามราคาปัจจุบัน

10. หากผู้โดยสารหยิบสัมภาระผิด ณ จุดรับสัมภาระนั้น เป็นความรับผิดชอบของท่านที่จะต้องรีบนำกลับมาคืนโดยค่าใช้จ่ายของท่านเอง ให้กับเจ้าหน้าที่สายการบิน หรือผู้จัดการท่าอากาศยานแห่งนั้น ผู้โดยสารจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าขนส่งเมื่อทางสายการบินฯทำการส่งสัมภาระคืนเจ้าของ

 * ข้อมูลจาก   
 
Copyright 2017 - 2026© lionair.aaflying.net All rights reserved.
เว็บสำเร็จรูป
×